เชิญชวนเสนอประวัติครอบครัวที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นครอบครัวร่มเย็นจังหวัดพิจิตร และเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัวจังหวัดพิจิตร ประจำปี 2567

ประชาสัมพันธ์
📢📢 กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ได้จัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกครอบครัวร่มเย็น และบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัวระดับจังหวัด ประจำปี 2567 เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวอยู่ร่วมกันอย่างร่มเย็น เป็นสุข เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม และบุคคล ซึ่งมีผลงานประจักษ์ในการพัฒนาครอบครัวด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท และรับผิดชอบเพื่อขับเคลื่อนงานด้านครอบครัว เพื่อมอบโล่เชิดชูเกียรติหรือเกียรติบัตร ในวันผู้สูงอายุแห่งชาติและวันแห่งครอบครัว ประจำปี 2567 โดยจะดำเนินการคัดเลือกครอบครัวร่มเย็นระดับจังหวัด จังหวัดละไม่เกิน 3 ครอบครัว และคัดเลือกบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัว จังหวัดละ 1 คน
🌟 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร ขอเชิญชวนท่านเสนอประวัติครอบครัวที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นครอบครัวร่มเย็นจังหวัดพิจิตร ประจำปี 2567 และเสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นบุคคลดีเด่นด้านการพัฒนาครอบครัวจังหวัดพิจิตร ประจำปี 2567 โดยรวบรวมข้อมูลประวัติและผลงาน จำนวน 11 เล่ม รายงานจังหวัดพิจิตร ภายในวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2566
📄หากท่านใดสนใจ สามารถศึกษารายละเอียดได้ตามลิงก์ดังกล่าว 👉 👉 https://drive.google.com/…/1rcUhFW5LU-wreC-YHtpM3SidM…
📌และจัดส่งประวัติและผลงาน ภายในวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2566 ได้ที่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ 056611130

Share:



การประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ จังหวัดพิจิตร ประจำปี 2566 ครั้งที่ 3/2566

วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพิจิตร ศาลากลางจังหวัดพิจิตร นายบุญเหลือ บารมี รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร และพระราชสิทธิเวที,รศ. ดร. เจ้าคณะจังหวัดพิจิตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ จังหวัดพิจิตร ประจำปี 2566 ครั้งที่ 3/2566 เพื่อรายงานผลการจัดงานเทศน์มหาชาติพระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ จังหวัดพิจิตร ประจำปี 2566 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2566 ณ ศาลาสภาบริหารกิจการคณะสงฆ์วัดท่าหลวง พระอารามหลวง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ผลการจัดงานฯมีผู้ร่วมบริจาคทำบุญสมทบทุนโครงการกองบุญผู้ให้จังหวัดพิจิตร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 777,106.- บาท แบ่งเป็นโอนเข้าบัญชีกองบุญผู้ให้จังหวัดพิจิตร จำนวน 268,929.-บาท และนำมาถวายงานเทศน์มหาชาติฯ จำนวน 508,177.-บาท หักค่าใช้จ่ายการจัดงานเทศน์มหาชาติ จำนวน 85,000 บาท และมอบเงินช่วยเหลือให้กลุ่มเปราะบาง เด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ จำนวน 30 ราย ๆ ละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 30,000 บาท รวมรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย มีเงินคงเหลือทั้งสิ้น 662,106.-บาท นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้ใช้เงินจากกองบุญผู้ให้จังหวัดพิจิตร เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคม กรณี ผู้สูงอายุป่วยด้วยโรคมะเร็งปอด ดูแลเด็กในวัยเรียน จำนวน 2 คน มารดาของเด็กอยู่ระหว่างการรักษามะเร็งเต้านม ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ บิดาของเด็กต้องโทษจำคุกทำให้ครอบครัว ขาดรายได้ ไม่มีทุนทรัพย์ทางการศึกษา ตำบลหนองพยอม อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตรจำนวน 2 เดือน ๆ ละ 3,000 บาท รวมเป็นเงิน 6,000 บาท พร้อมทั้งหารือแนวทางการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและภาคีเครือข่ายทราบถึงแนวทางการขอรับความช่วยเหลือจากกองบุญผู้ให้จังหวัดพิจิตร และประชาสัมพันธ์ช่วยผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนกองบุญผู้ให้จังหวัดพิจิตร


Share:



ประชุมคณะกรรมการพิจารณาความสามารถของผู้ขอมีบัตรประจำตัวผู้แสดงความสามารถ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ครั้งที่ 4/2566

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. นางปิยนาฏ เสงี่ยมศักดิ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาความสามารถของผู้ขอมีบัตรประจำตัวผู้แสดงความสามารถ ตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ครั้งที่ 4/2566 ณ ห้องประชุมสำนักงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความสามารถ ให้แก่ผู้ยื่น คำขอมีบัตรประจำตัวผู้แสดงความสามารถ จำนวน 1 ราย


Share:



การกระตุ้นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ภายใน ค.ศ. 2030

    ด้วยจังหวัดพิจิตรได้รับแจ้งจากกระทรวงมหาดไทยว่า องค์ารสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UN Thailand) ได้ประสานขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การกระตุ้นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้ง 17 ข้อ ในช่วง 7 ปี สุดท้าย เพื่อบรรลุเป้าหมาย SDGs ภายในปี ค.ศ. 2030 ตามที่กระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดได้ร่วมลงนามประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับ UN ไปเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565 ตามแนวทาง “76 จังหวัด 76 คำมั่นสัญญา เพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืน” #SDGSummit 

รายละเอียดเพิ่มเติม 👉 👉  https://drive.google.com/drive/folders/1tLDEDXsHLZseZ1svkyr4Gm6_QLVMxvdR


Share:



การอบรมตามโครงการเสริมพลังผู้นำสตรีเพื่อป้องกันความรุนแรงในครอบครัว

          วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2566 นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมตามโครงการเสริมพลังผู้นำสตรีเพื่อป้องกันความรุนแรงในครอบครัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่ที่เป็นสตรี ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 33 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานด้านความรุนแรงในครอบครัวในการป้องกัน แก้ไขเบื้องต้น และเฝ้าระวังการเกิดเหตุกระทำซ้ำ ในการนี้ นางปิยนาฏ เสงี่ยมศักดิ์ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร บรรยายในหัวข้อ “พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550” กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้นำท้องถิ่นผู้นำท้องที่ที่เป็นสตรี จำนวน 90 คน ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าจังหวัดพิจิตร (CK Convention Hall) อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร


Share:



โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตามการขับเคลื่อนการ ตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ National Referral Mechanism (NRM) จังหวัดพิจิตร

วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2566 นายสิงหราช วงษ์เสงี่ยม รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ตามการขับเคลื่อนการ ตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ National Referral Mechanism (NRM) จังหวัดพิจิตร เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการดำเนินคดี การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหาย และแนวทางในการปฏิบัติงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างถูกต้องตามหลักสากล และการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกลไกการส่งต่อระดับชาติ Natural Referral Mechanism (NRM) สามารถนำไปปฏิบัติระดับพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยอาจารย์วาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ผู้เข้าอบรมประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานสืบสวนสอบสวน สายตรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน และเครือข่ายอาสาพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวม 100 คน ณ โรงแรมมีพรสวรรค์ แกรนด์ โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial